แนวทางการออกแบบทางเท้าสำหรับการพัฒนาที่ดินรอบระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่รอบสถานีมักกะสัน

Other Title:
Pedestrian design guidelines for transit oriented development in urban area : a case study of Makkasan station area
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาแนวทางในการออกแบบทางเท้าสำหรับการพัฒนาที่ดินรอบระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่รอบสถานีมักกะสันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สถานีมักกะสัน หรือสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์มักกะสัน โดยมุ่งเน้นศึกษาในประเด็นของพื้นที่ทางเท้ารอบสถานีมักกะสัน ที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทั่วไป สมมติฐานของงานวิจัยจึงได้เสนอแนวทางการออกแบบแก้ปัญหาทางเท้า ผ่านแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบระบบขนส่งสาธารณะโดยมีกระบวนการวิจัย
1) วิเคราะห์แนวคิดและพื้นที่ศึกษา
2) ประเมินทางเท้าจากเกณฑ์การประเมินตามแนวคิด
3) วิเคราะห์ผลการประเมินทางเท้าในพื้นที่และสรุปแนวทางการออกแบบทางเท้า
ผลการศึกษาแนวทางการออกแบบทางเท้าบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์สถานีมักกะสันพบว่า ผลการประเมินทางเท้าภายใต้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบระบบขนส่งมวลชน สามารถเปรียบเทียบปริมาณของปัญหาและนำไปสู่การตัดสินใจด้านนโยบายการจัดการพื้นที่ได้ แต่จากการวิเคราะห์แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบระบบขนส่งสาธารณะสามารถบอกได้ว่าทางเท้าเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่รอบระบบขนส่งมวลชน การพัฒนาพื้นที่รอบระบบขนส่งมวลชนให้เกิดผลดีต่อระบบการคมนาคมของเมืองนั้นต้องการการพัฒนาร่วมกับกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบการสัญจรที่ปลอดภัยระหว่างกลุ่มผู้สัญจรทางเท้าและผู้ใช้รถบนถนน The objective of study is to study of pedestrian design guidelines for transit-oriented development in Urban Area: a case study of Makkasan Station area. This case study of the area around the SARL. Makkasan station aimed to study the problems in SARL transit system. The study focused on the issue of pedestrian areas around the Makkasan Station playing as a key role in connecting transit systems in general. The hypothesis of the research is to propose designing guidelines to solve the pedestrian area by developing the area around the station. The research methodology is to 1) analysis concept and study the area. 2) Assessment of pedestrian evaluation criteria based on the concept. 3) Analyze the results of the evaluation pedestrian in the area and the pedestrian design guidelines.
The pedestrian assessment presented the quantity of the issues in each area and pedestrian designing guideline to lead policy authority to manage the area. However the analysis of the development area around the transit system showed that the sidewalk is only one factor in TOD concept. To benefit the transport system of the city by developing the pedestrian area, it is required to develop together with land usage and secure roaming between the pedestrian and the on-road vehicles.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
1228