ความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของอาคารสูงเพื่อการอยู่อาศัยกับผลกระทบทางสายตาที่มีต่อวัดในกรุงเทพมหานคร

Other Title:
Relationships between height of tall residential buildings and visual impact on temples in Bangkok
Author:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จากการเจริญเติบโตของเมืองและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินอย่างต่อเนื่องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วตามแนวระบบขนส่งมวลชน ส่งผลให้เมืองขยายตัวในแนวตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจและรองรับที่อยู่อาศัยความหนาแน่นสูงโดยไม่สนใจสภาพพื้นที่และบริบทแวดล้อม อีกทั้งการดูแลควบคุมพื้นที่การขยายตัวของอาคารใหม่ที่จะเกิดขึ้นยังไม่พอเพียง จึงเกิดผลกระทบทางสายตาจากอาคารใหม่ต่อสถานที่สำคัญและมีคุณค่าอยู่เดิมของเมือง โดยเฉพาะวัดซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาและเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาทัศนคติและความคิดเห็นจากกลุ่มคนทั่วไป เพื่อศึกษาทำความเข้าใจสภาพผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมีวิธีดำเนินวิจัยการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ศึกษา ข้อมูลวัดและลักษณะของอาคารสูงเพื่อการอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ 2) ศึกษาและกำหนดรายละเอียดตัวแปรในการวิจัย โดยการค้นคว้าและทำแบบสอบถามฉบับทดลอง 3) สร้างภาพตัวแทนซึ่งเป็นภาพจำลองซ้อนทับภาพถ่าย (Photomontage) และจัดทำแบบสอบถามประกอบภาพ (Photo-questionnaire) 4) สำรวจทัศนคติด้วยแบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพของภูมิทัศน์และระดับผลกระทบทางสายตาด้วยการวัดระดับความชอบและการยอมรับตามระดับคะแนน 6 ระดับ (Likert Male) พร้อมแสดงความคิดเห็น 5) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ได้จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามเพื่อสรูป อภิปรายผลการวิจัยและข้อแสนอแนะ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชอบและยอมรับวัดตัวอย่างในสภาพปัจจุบันในระดับที่ต่างกัน เมื่อมีอาคารสูงใหม่ซึ่งเกิดจากการจำลองภาพเป็นภาพสมมติซ้อนทับบนภาพจริงในฉากหลังของวัด ทัศนคติของบุคคลทั่วไปมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปในทางลบเมื่อมีอาคารในฉากหลังกล่าวคือเมื่ออาคารสูงในฉากหลังมีความสูงเพิ่มขึ้น ความชอบและการยอมรับภาพวัดจะลดลงอย่างชัดเจน จากผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบอาคารสูงและการประเมินผลกระทบทางสายตาของอาคารสูงในเมืองที่มีผลต่อสถานที่สำคัญของเมืองที่มีคุณค่าอย่างเหมาะสมต่อไป Urban growth and mass transit system development in Bangkok have caused rapid increase in real estate projects along the transit line areas. Tall residential buildings for such projects become a necessity due to high land cost. These tall buildings were designed and developed without regards for environmental or cultural context of the areas. One of the uncontrollable impacts of such reckless development is the visual impact on cultural assets in urban areas, notably the Buddhist temples, with religious, historic, artistic and architectural values.
This research aims to explore and to form a basis for understanding of public attitudes on the aforementioned visual impact. The methodology can be described as; 1) Gathering and reviewing basic information of the concerned areas, temples, and the characteristics of tall residential building. 2) Surveying of the targeted areas and determines the research variables by pretest photo- questionnaire 3) Temples that fit the study criteria were chosen, pictures of temples were selected according to certain criteria to become representative pictures of each temple, photomontage technique was applied to temple pictures to simulate the situation where tall buildings of various heights were erected in the background of each temple, 4) Data were collected from public with a survey using Photo-questionnaire by having the respondents giving ratings to each photo on one's preference and acceptability on 6 point Likert scale, a total of 306 questionnaires were collected, 5) Collected data were analyzed using a statistic package, the findings were reported and discussed, recommendations were provided according to the results.
The findings reveal that the respondents rated positively on the preference and acceptability of the existing pictures for all 6 temples at slightly different levels. However, when tall buildings were added to the picture in the background to simulate the situation where a condominium had been constructed nearby, the rating of preference and acceptability decreased to negative direction significantly. The taller the added buildings in the background, the lower the rating of preference and acceptability. In other words, the taller the buildings had been constructed in the background, the respondents were less likely to prefer and to accept the scenarios, to the degree that they clearly expressed dislike and state that it was unacceptable. The results may lead to guidelines for development of real estate and design of tall building where there are places of valuable historic and cultural values; such as temples and religious buildings nearby
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
133