การศึกษาภูมิทัศน์บนทางเท้าของย่านพาณิชยกรรม กรณีศึกษา : ทางเท้าย่านสยามสแควร์

Other Title:
The study of sidewalk landscape in commercial district case study : Siam square
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางภูมิทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ทางเท้า ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้งานและทัศนคติของผู้ใช้งานทางเท้า เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงรูปแบบทางกายภาพทางเท้า โดยเลือกพื้นที่ย่านสยามสแควร์ซึ่งเป็นย่านที่มีความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผู้ใช้สอย และกิจกรรม โดยในการค้นคว้าจะต้องศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทางเท้าได้แก่ หลักในการออกแบบทางเท้า ลักษณะและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินเท้า และทำการกำหนดตัวแปร เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการสำรวจพื้นที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลด้านลักษณะทางกายภาพของทางเท้า และพฤติกรรมการใช้งาน และจัดทำแบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลด้านทัศนคติของผู้ใช้งานเพื่อช่วยในการตอบคำถามของงานวิจัยและหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง
ผลจากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ลักษณะภูมิทัศน์ทางกายภาพของทางเท้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้งานทางเท้าประกอบด้วย ความกว้าง พื้นที่บนทางเท้า แสงสว่าง ความร่มเงา ความปลอดภัยและความน่าเชิญชวนในการเดิน และยังพบว่าพื้นที่ศึกษาในปัจจุบัน ขาดการจัดการเรื่องการความสะอาด และแผงลอย ข้อเสนอแนะของงานวิจัยคือ ทำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดให้เป็นระบบ เพิ่มพื้นที่ร่มเงา ออกแบบและสร้างเรื่องราวให้กับพื้นที่ให้มีเอกลักษณ์น่าเชิญชวนในการเดิน เพิ่มปริมาณป้ายบอกทิศทาง และจัดระเบียบการตั้งแผงลอย The objectives of the research are to study pedestrian behaviors and attitudes toward the physical environment and usage of the sidewalk and physical factors that affect the behaviors, and to propose physical design improvement. The study area chosen is Siam square recommendations on a popular commercial district in Bangkok. Research methodology involves identifying variables for developing structure for site survey that includes gathering data of physical design and pedestrian behavior and conducting questionnaire to collect data about users' behaviors and altitude toward the physical environment.
The research finding show that sidewalk landscape elements that affect pedestrian behaviors are width of sidewalk, lighting, shading, safety, and atmosphere. In addition, the research also found that sidewalks in the area lack proper management, especially on their cleanliness and tidiness. Recommendations on physical design improvement include adding sidewalk shading, creating walking atmosphere by increasing sidewalk's characteristic and identity, adding proper signage, and maintaining sidewalk's cleanliness and tidiness.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
1929