ระบบการเดินเท้าโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช

Other Title:
Pedestrian network around Bangkok mass transit system station : a case study of Onnut BTS station
Author:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาระบบการเดินเท้าโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุชเรื่องคุณภาพการเดินและสภาพปัญหาการเดินเท้าโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า สำหรับใช้ประกอบการเสนอแนะแนวทางการออกแบบวางผังพัฒนาพื้นที่โดยรอบการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ต่อไป
ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการศึกษาข้อมูล และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงลงสำรวจพื้นที่ศึกษา โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุชในรัศมี 400 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่สามารถเดินถึงใน 10 นาที ในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนไป ปริมาณผู้เดินเท้า สภาพปัญหา และอุปสรรคในการเดินเท้าร่วมกับการเก็บแบบสอบถามคนเดินเท้าที่พักอาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช ถึงพฤติกรรมการใช้ทางเท้า และความพึงพอใจในสภาพกายภาพทางเท้า
จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ศึกษามีผู้เดินเท้าสูงมากจนกระทั่งเป็นระบบการเดินเท้าหลักคือการเดินไป-กลับที่ พักและสถานีรถไฟฟ้า เพื่อเดินทางเข้าไปทำงานในย่านธุรกิจ และระบบการเดินเท้า รองคือการแวะทำกิจกรรมตามจุดรวมกิจกรรมระหว่างทาง คุณภาพการเดินเท้าในพื้นที่ศึกษามีคุณภาพต่ำ เกิดปัญหาความกว้างทางเดินเท้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และขาดความปลอดภัยในการเดินเท้าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า และการเพิ่มจำนวนประชากรในพื้นที่ศึกษาอย่างรวดเร็ว โดยที่ทางเท้าไม่ได้ถูกพัฒนาไปพร้อมกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า เมื่อจุดประสงค์ในการเดินมีอิทธิพลต่อการเลือกเส้นทางมากกว่าสภาพแวดล้อมกายภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องออกข้อกำหนดในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าร่วมกับการออกแบบทางเท้าตามมาตรฐานดังนี้
1. การก่อสร้างอาคารพักอาศัยรวม หรือห้างค้าปลีกค้าส่งต้องสร้างรั้วร่นจากแนวเขตที่ดินเข้ามา 120 เมตร ตลอดแนวที่ติดเขตทางสาธารณะ เพี่อเป็นทำเป็นทางเดินเท้าแก่ผู้พักอาศัยโดยรอบ
2. การเปิดทางเข้าอาคาร ต้องมีพื้นที่ให้รถยนต์ชะลอความเร็วไม่ให้กีดขวางทางสาธารณะ This research aimed to study pedestrian network around Onnut Bangkok Mass Transit System station in order to assess its suitability and problems. The results could lead to design and planning recommendations on pedestrian network around mass transit station.
Methodologically, the research began with a review of relevant theories and information. Site survey was then conducted in the area within 400 meters around the Onnut BTS station (10-minute walking distance). The subjects of survey included land use changes, pedestrian volumes, obstacles and problems affecting pedestrian activities. In addition, questionnaire was conducted to gather information on pedestrian behavior and satisfaction toward physical conditions of sidewalks.
The results indicated that pedestrian volume in the area was very high. The main purpose of walking were commuting between home and work and visiting other areas along the BIS route, respectively. In terms of physical suitability and problems of sidewalk conditions, the research found that physical suitability of sidewalk conditions was low due to narrowness of sidewalks in general and lack of pedestrian safety. This could results from a rapid change of land use pattern around the area while the pedestrian facilities had not been developed to support such changes.
Recommendations on design and regulation include:
1. A1.2-meter setback from lot line facing public street for development of sidewalks.
2. An extended space for vehicle entrance crossing any sidewalk in help slow down the vehicle and prevent from obstructing pedestrian activity.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
518