การประเมินการใช้งานพื้นที่ใต้ทางด่วนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร

Other Title:
Post occupancy evaluation of under highway, Phloen Chit, Bangkok
Author:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ในการศึกษางานวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและประเมินลักษณะการใช้งานพื้นที่ใต้ทางด่วนและลักษณะของพื้นที่ใต้ทางด่วนที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตในบริบทไทย โดยมีพื้นที่การศึกษาอยู่ในย่านเพลินจิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นย่านที่อยู่ใจกลางเมืองและมีความหลากหลายทางด้านกายภาพ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ
การศึกษาพื้นที่ใต้ทางด่วนนั้นมีขั้นตอนในการประเมินลักษณะการใช้งานพื้นที่ ด้วยการสำรวจข้อมูล การสังเกตการณ์ การทำแผนผังข้อมูล สำรวจประเภทการใช้ประโยชน์อาคาร และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของผู้ใช้โครงการศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์เพลินจิต เพื่อสรุปผลหาแนวทางการออกแบบพื้นที่ใต้ทางด่วนที่สอดคล้องกับบริบทไทย ตลอดจนข้อเสนอแนะต่อพื้นที่ศึกษาที่เหมาะสม
จากการขั้นตอนการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบลักษณะกิจกรรมที่สมควรมีในโครงการพื้นที่ใต้ทางด่วนอื่น ๆ ในอนาคต เช่น การปรับเปลี่ยนขนาดกิจกรรมในพื้นที่ของโครงการที่มีการใช้งานน้อยแต่มีขนาดใหญ่เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริง การออกแบบพื้นที่ให้มีความสวยงามและน่าสนใจมากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าใช้งานในโครงการ มีการประชาสัมพันธ์โครงการที่ดีเพื่อให้คนทั่วไปหรือคนในชุมชนเข้าถึงกิจกรรมที่จัดหรือบริการที่มีให้ และควรส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อ โครงการพื้นที่ใต้ทางด่วนบริเวณอื่น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่สูญเปล่าในบริบทไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ปัจจัยคือ การกำหนดรูปแบบกิจกรรม การออกแบบพื้นที่ใช้สอย ขนาดของพื้นที่กิจกรรม คุณภาพของพื้นที่ด้านกายภาพ การมองเห็นพื้นที่และลำดับการเข้าถึงกิจกรรมกับพื้นที่โครงการ การสร้างความต่อเนื่องระหว่างพื้นที่กับบริเวณภายนอกพื้นที่ และการจัดการพื้นที่ร้านค้ารถเข็น This research aimed to investigate a post occupancy evaluation and patterns of uses in the under highway project. The study area was located at Pleon-Chit District, a central business district with a variety of physical environment, society, culture and commercial activities.
Research methods in this study included observation, mapping, functional diagram and relationships of the under highway project. These methods revealed effects, suitable uses, and appropriate design guidelines for other under highway projects in Thai context.
Results of the independent study indicated that design of the under highway area might require modification of low-usage activities, improvement of physical environment for aesthetic needs and attractions. Additionally, more publicity of the project, available service for both the public and the locals, and creative activities for the local communities affected users' satisfaction of the under highway project. These issues led to success of the under highway project.
Suitable development of the under highway projects, lost space, in Thai context was determined into 7 factors. There were activity patterns, functional design, area requirement, quality of activity space, visibility and visual sequence of the under highway projects and their activities, continuity between the activities in the projects and the surrounding and lastly hawker management.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
645