ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์พื้นที่เปิดโล่งบริเวณคูเมืองนครราชสีมา

Other Title:
Guidelines for the use of open space of Nakhon Ratchasima Moat
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการการใช้พื้นที่บริเวณคูเมืองนครราชสีมา 2) ประเมินศักยภาพของพื้นที่บริเวณคูเมืองนครราชสีมา 3) วิเคราะห์และสรุปแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนาพื้นที่คูเมืองนครราชสีมา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะการใช้พื้นที่โดยทั่วไป ปัญหาที่พบในการใช้พื้นที่ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ ทำการวิเคราะห์ผลเป็นค่าร้อยละของตัวอย่างประชากรพิจารณาประกอบกับผลจากการสังเกตและข้อมูลทางวิชาการ
ผลการศึกษา พบว่า แนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนาพื้นที่คูเมืองนครราชสีมา สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเด็น คือ
1. การสร้างความเชื่อมต่อของพื้นที่เปิดโล่งบริเวณคูเมืองให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อแสดงความชัดเจนของเขตพื้นที่ประวัติศาสตร์ เป็นการเน้นย้ำความสำคัญและสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นตามหลักการอนุรักษ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์
2. พื้นที่แถบตะวันตกฝั่งประตูชุมพลควรพัฒนาเป็นพื้นที่รับแขกของเมืองที่พร้อมด้วยแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับท้องที่ มีความร่มรื่นปลอดภัยจากลักษณะที่ดีทางภูมิสถาปัตยกรรม มีกิจกรรมประเภท Passive ที่ไม่ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่
3. พื้นที่แถบประตูพลแสน ควรพัฒนาหน้าที่หลักเป็นสวนสาธารณะระดับจังหวัด เพื่อสนองตอบความต้องการเชิงสุขภาวะอนามัยของประชาชน ประกอบหน้าที่ทางสิ่งแวดล้อมและการสร้างทัศนียภาพที่ดีให้กับเมือง โดยมีองค์ประกอบทางภูมิสถาปัตยกรรมที่ไม่ขัดต่อความเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์
4. พื้นที่แถบฝั่งประตูพลล้านและประตูไชยณรงค์ ควรพัฒนาความเข้มข้นในด้านการเป็นพื้นที่เปิดโล่งเพื่อสิ่งแวดล้อมและสร้างทัศนียภาพที่ดีให้แก่เมือง The purposes of the study are 1) to survey the uses of Nakhon Ratchasima City Moat 2) to evaluate the potential of Nakhon Ratchasima City Moat area 3) to analyze and conclude the guidelines for the use of open space of Nakhon Ratchasima City Moat.
The research instrument is a questionnaire about the uses of Nakhon Ratchasima Moat, the problems of the uses and the opinions relating to the development of this area. Then, the data was analyzed in terms of percentages of sample population, considerate with the result of the observation and database from literature.
The results indicate that the suitable uses of Nakhon Ratchasima Moat should be as follow:
1. The open space along the city moat should be connected continuously to be a large open area.
2. The west area of the city moat should be developed as a multipurpose area with the learning center about local history. Complementary with shading, safety and beauty from the nice landscape. Only passive activities allowed to do
3. The north area of the City Moat should develop as a community park to serve public health, environmental functions and urban landscape.
4. The east and the south areas of the city moat should turn to be the open space for the improvement of urban ecological and urban landscape.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
96