การประเมินคุณภาพทางสายตาของภูมิทัศน์ : กรณีศึกษาคุณภาพเชิงทัศน์บนถนนราชดำเนิน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Other Title:
Landscape visual assessment : a case study of the Ratchadamnoen road, Nakhon Si Thammarat province
Author:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางสายตาต่อภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการวิจัยได้ทำการวิเคราะห์หาภาพตัวแทนที่แสดงภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ในหน่วยพื้นที่ศึกษาจำนวน 33 ภาพ จากนั้นจึงทำแบบสอบถามเพื่อใช้เก็บข้อมูลระดับความชื่นชอบและความเหมาะสมในการแสดงออกถึงภูมิทัศน์ถนนราชดำเนิน จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยวิธีการให้คะแนนภาพจากแบบสอบถามประกอบรูปภาพ แล้ววิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำสัมประสิทธิ์การกระจาย และค่าความสัมพันธ์ของคะแนนที่ได้จากการเก็บข้อมูล แล้วนำมาประมวลร่วมกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลด้านทัศนคดีที่มีต่อภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน
ผลจากการศึกษาพบว่าสภาพปัจจุบันประกอบด้วยลักษณะภูมิทัศน์ของเมืองที่มีรูปแบบหลากหลาย โดยองค์ประกอบหลักที่เป็นเอกลักษณ์ทางด้านภูมิทัศน์เด่นชัดก็คือ โบราณสถาน และ ศาสนสถานต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย อันเนื่องมาจากความเป็นมาที่มีประวัติเก่าแก่ในการสร้างเมือง ซึ่งได้เริ่มจางหายไปจากการพัฒนาของเมืองสามการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากภาพตัวแทนที่เป็นตัวแทนของลักษณะภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสาระสำคัญของคุณภาพเชิงทัศน์ รวมทั้งจากการศึกษาพบว่าทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นั้นมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ลักษณะภูมิทัศน์ที่โดดเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราชจะมีลักษณะพื้นที่ประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ที่ประกอบด้วยหลักฐานทางกายภาพที่แสดงถึงความคงอยู่ของมนุษย์ในอดีตถึงปัจจุบัน จึงทำให้การศึกษาครั้งนี้เป็นการมองปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นควรส่งเสริมและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ปลูกจิตสำนึกและพัฒนาเมืองในทิศทางเชิงการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ เรียนรู้สิ่งที่สูญหายไปแล้วนำสิ่งเหล่านั้นกลับคืนมา ทำให้พื้นที่นั้น ๆ มีคุณค่าและความสำคัญที่ควรคู่แก่การเก็บรักษาและอนุรักษ์ให้อยู่ยั่งยืน The objectives of this study are to analyze and evaluate the historic landscape visual environment quality of Nakhon Si Thammarat province. This study has found the 33 substitute pictures that represent the historic landscape in the study area. Then, the questionnaire is created for collecting data about the degree of fondness and suitability in representing the landscape of Ratchadamnoen Road. Nakhon SI Thammarat Province. The evaluation method of such questionnaire is picture grading by target groups. The result would be statistically analysis with frequency distribution, mean, standard deviation, coefficient of dispersion, and relationship of collected marks. After that, those data about the historic landscape would have been assessed together with personal attitude data collected from of 250 people. From the case study, the research has found that the current feather of the Nakhon Si Thammarat landscape is mixed. The main components which are considered being the landscape identities are composed of many archaeological sites and religious places due to the ancient history of the city-building of Nakhon Si Thammarat. However, nowadays, these features are being vanished by the development of society and economy which can be seen from the representative pictures of the current historic landscape under the view of visual quality. The result from the analysis shows that most of respondents’ attitudes are in the same way which they thought that the outstanding landscape of Nakhon Si Thammarat is the historic nature area where there are many physical evidences which show the persistence of the ancient humanity from the past until the present. As a result, this study is the research of investigating environmental problems which lead to promote and stimulate people to put the emphasize and value over the environment as well as to aware and develop their city under the framework of history preservation, learn how to bring back those extinct value in order to make the target area more valuable and more important.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
282