แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี

Other Title:
Cultural landscape management : a case study of Chanthaboon Community, Chanthaburi
Author:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษากระบวนการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อให้สามารถระบุองค์ประกอบและประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรม สำหรับการเสนอแนวทางในการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในสองระดับคือ ระดับกว้างคือการเก็บข้อมูลในพื้นที่ชุมชนที่จัดไว้ในฐานข้อมูลต่าง ๆ และในระดับพื้นที่ด้วยวิธีการสำรวจภาคสนาม โดยใช้แบบสังเกตุบันทึกข้อมูลด้านคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่องค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กรณีศึกษา
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การจัดหมวดหมู่ข้อมูล การจำแนกประเภทข้อมูล การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมน้ำจันทบูร
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมและความเก่าแก่ ส่วนที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมริมแม่น้ำจันทบุรีและการอยู่ร่วมกันของวิถีทางความเชื่อที่แตกต่าง
2. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรนั้นจัดอยู่ในประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบชุมชนเมืองที่แสดงถึงระยะเวลาอันยาวนานในการปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม ตั้งแต่ยุคแรกของการเข้ามาตั้งถิ่นฐานมาจนถึงในยุคปัจจุบันซึ่งวิถีชีวิตของชุมชนพึ่งพาระบบทางธรรมชาติน้อยลง
3. แนวทางในการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมนั้นใช้วิธีการอนุรักษ์และพัฒนาในขอบเขตของพื้นที่ระดับต่าง ๆ ตามระดับคุณค่าความสำคัญของพื้นที่องค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมจึงความยั่งยืนภายในชุมชนนั้นต้องเกิดจากการดูแลรักษาอัตลักษณ์จากคนในชุมชนหน่วยงานท้องถิ่นและเอกชนร่วมมือกัน The Purpose of this research was to studys the management process of cultural landscape indicating to the elements and the type of cultural landscape. For the offering ways in the cultural landscape management: a case study of Chanthaboon community, Chanthaburi, this research studied in two levels; was wide level that gathers data in the community area arranged in database and in the floor level by fieldwork survey using the observation form that noted the valued data and the significance of elements of cultural landscape.
The analysis data used subsuming data, classifying data, analysis of the internal and external factors that impacted the cultural landscape of Chanthaboon community.
The results of the study were:
1. Elements of the concrete cultural landscape are comprised of buildings and structures that are outstanding in architecture and antiquity. Elements of the abstract cultural landscape are comprised of history of settlement, way of life, folk wisdom for gentrifying resident to fit the environment in Chanthaboon community and living together by the different lifestyles and beliefs.
2. The cultural landscape of Chanthaboon community are arranged in type of urban area of cultural landscape indicated to long time period for adapting form of cultural landscape elements since early era of settlement to present that the way of life of the community less depends on natural system.
3. The management process of cultural landscape uses conservative method and develops the bound of area in levels following the value of the elements area of cultural landscape that the permanence in community must occur by taking care the identity from the cooperation of people in the community, local authorities and individual.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
Total Download:
895