พัฒนาการเวียงกุมกามจากหลักฐานทางโบราณคดี

Other Title:
The development of Wiang Kum Kam based on archaeological evidence
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของเวียงกุมกามใน 3 ประเด็นคือ คติความเชื่อทางศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณ และบทบาทหน้าที่ของเวียงกุมกาม โดยทำการศึกษา เปรียบเทียบวิเคราะห์ ตีความ หลักฐานทางโบราณคดีทั้งประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีและขุดแต่งโบราณสถานภายในเวียงกุมกาม โดยได้ศึกษาวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐานลายลักษณ์อักษรทั้งประเภทจารึก ตำนาน พงศาวดาร
ผลการศึกษาพบว่า เวียงกุมกามมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมใน 3 ช่วงสมัยด้วยกันคือ
สมัยหริภุญไชยมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ในช่วงสมัยนี้เวียงกุมกามเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากเมืองหริภุญไชย พบว่ามีการนับถือศาสนาพุทธผสมผสานแนวความเชื่อพื้นเมือง และยังพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงคติพุทธศาสนานิกายมหายานจากอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมืองลพบุรี สำหรับด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน และชุมชนโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
สมัยพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงสมัยที่พญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามเพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง พบว่าพุทธศาสนาในช่วงแรกยังคงได้รับอิทธิพลมาจากเมืองหริภุญไชย หลักฐานที่แสดงให้เห็นคือเจดีย์กู่คำหรือเจดีย์เหลี่ยม ต่อมาพบว่ามีการรับพุทธศาสนามาจากเมืองพุกาม โดยปรากฏหลักฐานในรูปแบบแผนผังวิหารทรงปราสาทที่วัดช้างค้ำกานโถม นอกจากความสัมพันธ์กับเมืองพุกามที่ปรากฏในรูปแบบและคติการสร้างวิหารที่วัดช้างค้ำกานโถม ก็ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย โดยได้พบชิ้นส่วนจารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัย ที่วัดเจดีย์เหลี่ยม
สมัยล้านนาพุทธศตวรรษที่ 20-22 ในระยะนี้เวียงกุมกามมีลักษณะเป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่ใกล้กับเมืองเชียงใหม่และเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ปรากฏหลักฐานการทำบุญและอุปถัมภ์พุทธศาสนาโดยกษัตริย์ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณพบว่ามีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณในอาณาจักรล้านนาในลักษณะการค้าการแลกเปลี่ยนหรือความสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนา และยังพบว่ามีความสัมพันธ์ทางรูปแบบศิลปกรรมกับอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ของพระภิกษุทั้งกลุ่มนิกายสวนดอกและนิกายป่าแดง สำหรับอิทธิพลศิลปะจีนเป็นความสัมพันธ์ทางรูปแบบศิลปกรรมซึ่งได้รับสืบทอดมาจากเมืองเชียงใหม่อีกต่อหนึ่ง The purpose of this research is to study the development of Wiang Kum Kam in three aspects including religious beliefs, relationships between Wiang Kum Kam and other ancient communities, and the roles of Wiang Kum Kam. This study is carried out by comparing, analyzing, and interpreting archaeological evidences found from excavations at Wiang Kum Km. It is analyzed together with written evidences such as inscriptions, legends, and chronicles.
The study showed that Wiang Kum Kam had three periods of cultural development as stated below.
During the Haripunjaya period in the 12th – 13th Century A.D., Wiang Kum Kam was a small community which received cultural influences from the kingdom of Haripunjaya. The people of Wiang Kum Kam practiced Buddhism combined with local beliefs. Archaeological evidences belonging to Mahayana Buddhism from Northeastern India and Lop Buri were also found. There were evidences of relationships between Wiang Kum Kam and ancient communities in the Chiang Mai – Lamphun basin as well as around the Chao Phraya River.
During the 14th Century A.D., King Mang Rai established Wiang Kum Kam as a capital. Buddhism as practiced then was influenced by the Haripunjaya culture, as evidenced by the Chedi Liam or Chedi Ku Kam. Later Wiang Kum Kam was influenced by Buddhism from Pagan, and an evidence was the plan of the vihara at the Chang Kam Kan Thom temple, which was thought to be an offering to the Buddha. Apart from Pagan, Wiang Kum Kam was also communicating with the Kingdom of Sukhothai. Important evidences are the Thai inscription fragment found at the Chedi Liam temple.
During the Lan Na period in the 15th- 17th Century A.D., Wiang Kum Kam was a border city closed to Chiang Mai and was an important Buddhist community. There are evidences that the Kings of Wiang Kum Kam practiced acts of merit and were patrons of Buddhism. Wiang Kum Kam communicated with other ancient communities in Lan Na through trades and Buddhism. Its arts were closely related to the arts of Sukhothai, which is a results from the propagation of Lankan Buddhism by the monks of the Suan Kok and the Pa Dang sects. Chinese influences in the arts of Wiang Kum Kam were influences from Chiang Mai.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Total Download:
287
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การวิเคราะห์สัณฐานเมืองเพื่อพัฒนาการใช้พื้นที่ถนนคนเดิน : กรณีศึกษาถนนคนเดินกลางเวียงเชียงใหม่
Collection: Theses (Master's degree) - Urban Design / วิทยานิพนธ์ - การออกแบบชุมชนเมืองType: Thesisศุภฤกษ์ รังสิโรจน์; Suparuek Rungsiroj (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011) -
การศึกษาผังเมืองโบราณล้านนา : เวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Collection: Theses (Master's degree) - History of Architecture / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมType: Thesisทวีศักดิ์ เกียรติวีระศักดิ์; Taweesak Kaittiweerasak (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2005)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงการวางผังเวียงกุมกามด้านแนวความคิด แบบแผน และวิทยาการผังเมืองโบราณล้านนา เป็นภูมิปัญญาของไทยด้านสถาปัตยกรรมผังเมือง ซึ่งสามรถใช้เป็นความรู้พื้นฐานหรือการประยุกต์ใช้ในสาข ... -
การศึกษาชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดี : กรณึศึกษาการผลิตเครื่องมือเหล็กของกลุ่มชาติพันธุ์ละว้า ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กับเครื่องมือเหล็กจากแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Archaeology / สารนิพนธ์ – โบราณคดีType: Thesisชิดชนก ถิ่นทิพย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2012)