ศิลปกรรมของชาวมอญสมัยรัตนโกสินทร์ในภาคกลางของประเทศไทย

Other Title:
The art of the Mon in Central region of Thailand in Rattanakosin period
Subject:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ ความหมาย คติความเชื่อ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ของเจดีย์แบบมอญและจิตรกรรมฝาผนังในวัดของชุมชนชาวมอญในภาคกลางประเทศไทย ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25
เจดีย์แบบมอญในภาคกลางประเทศไทย น่าจะได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากเจดีย์แบบมอญสมัยหงสาวดี การรับแรงบันดาลใจดังกล่าวเป็นไปในลักษณะคลี่คลายด้วยกระบวนการลดทอนรูปแบบอันซับซ้อน ให้มีความเรียบง่ายเหมาะสมกับขนาดของเจดีย์และปัจจัยแวดล้อมโดยเฉพาะในส่วนลดบัวฐาน ทำให้ส่วนฐานของเจดีย์แบบมอญแต่ละองค์มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ในขณะที่ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดมีความคล้ายคลึงกัน และยังน่าจะได้รับแรงบันดาลใจบางประการจากเจดีย์ในศิลปะพม่าและศิลปะไทยเข้ามาผสมผสาน จนทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของเจดีย์แบบมอญในแต่ละพื้นที่ ในด้านความหมายพบว่าชาวมอญในภาคกลางประเทศไทยมีคติความเชื่อว่าเจดีย์คือสิ่งแทนถึงพระพุทธเจ้า การกราบไหว้บูชาเจดีย์เปรียบได้กับการกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า เนื่องจากชาวมอญมีความยึดมั่นอยู่กับตำนานการสร้างเจดีย์ชเวดากองอย่างมาก ดังนั้นเมื่อชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยจึงนิยมสร้างเจดีย์ขึ้นในวัดของตน เพื่อเป็นเจดีย์จำลองถึงมหาธาตุเจดีย์ที่ตนเคยสักการบูชา โดยเฉพาะเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์ชเวมอดอ จิตรกรรมฝาผนังในวัดของชุมชนชาวมอญในภาคกลางประเทศไทย มีลักษณะเป็นจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณี ปรากฏทั้งแบบฝีมืองานช่างหลวงและแบบฝีมืองานช่างพื้นบ้าน ลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นคือ ความนิยมในการเขียนภาพพระอดีตพุทธเจ้าประทับนั่งเรียงรายในแถวแนวนอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวมอญในภาคกลางประเทศไทยในช่วงเวลานั้น น่าจะมีการนับถือคติความเชื่อเรื่องพระอดีตพุทธเจ้าอยู่ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้ เฉพาะในอำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธารามยังพบว่ามีความนิยมในการเขียนภาพพุทธประวัติ ซึ่งอาจเนื่องจากชาวมอญในพื้นที่นี้มีคติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอยู่อย่างเข้มข้น This thesis purposed to study the pattern, the meaning, the religious beliefs and the cultural of “Mon pagoda” and “Mural painting” in the temples of Mon national community in Central Thailand during the age range of 19th – 20th centuries.
The results found that Mon pagoda in Central Thailand seemed inspired from Mon pagoda in Hanthawadi period, which had inspired such a manner as to unravel the process of reducing a complex pattern to simplicity, the appropriate size of the pagoda and environmental factors. Especially, in the part of the base that made the different in each of the pagoda, while the bell-shaped and above the bell-shaped structure to top were similar in each other. Furthermore, it seemed inspired some aspects of the combination characteristics from Burmese and Thai stupas contribute to a particular characteristic of the Mon pagoda in each area.
For meaning, Mon peoples in Central Thailand had the religious beliefs that the pagoda is the representative of Buddha. The worship of the pagoda liken to the worship of the Buddha. Since, Mon peoples adhered with the legend of Shwedagon pagoda construction. So when Mon peoples immigrated to Thailand, they admired to construct the pagoda to mimic for the pagoda that they had worship particularly, Shwedagon pagoda and Shwemawdaw pagoda.
The mural painting in Mon temples in Central Thailand had characteristics as traditional Thai mural painting, which presented both royal artisans and local artisans. Outstanding characteristic was the popularity of writing historical Buddha sat lined up in rows, which was present about the religious beliefs of historical Buddha of Mon peoples in Central Thailand of that time. Moreover, especially in Ban Pong and Photharam district had favor to writing the image of Buddha’s biography, which owing to the strong religious beliefs and cultural about Buddha’s biography of Mon in this area.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
Collections:
Total Download:
809