มหาธาตุ : แนวคิดและแนวทางในงานสถาปัตยกรรมไทย

Other Title:
Mahadhatu : concept and practice in thai architecture
Author:
Subject:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและแนวทางในการสถาปนาพุทธศาสนสถานที่เรียกว่า “มหาธาตุ” โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิเคราะห์ประเด็นทางด้านคติความเชื่อ ประเด็นด้านประติมานวิทยา และประเด็นด้านสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะเจาะจงไปที่ประเด็นเรื่องหน้าที่ใช้สอยของศาสนสถานในการเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุและเป็นที่ประกอบพิธีสักการบูชาพระบรมธาตุอันส่งผลให้ศาสนสถานประเภทนี้มีความแตกต่างไปจากสถูปเจดีย์ทั่วไป ผลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์นี้น่าจะช่วยให้ข้อมูลในเรื่องมูลเหตุการสร้าง แนวคิดในการเลือกที่ตั้ง ความสำคัญของศาสนสถานในบริบทเมือง และการจัดพื้นที่ภายในศาสนสถาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ไม่ปรากฏในงานวิจัยทั่วไป
ผลจากการวิเคราะห์พบว่าแนวคิดในการสถาปนามหาธาตุในดินแดนไทยนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา กล่าวคือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งเป็นระยะแรกที่มีการสร้างศาสนสถานประเภทนี้มีการประดิษฐานพระบรมธาตุใน “แบบเปิด” หรือการประดิษฐานในอาคารที่สามารถเคลื่อนย้ายพระบรมธาตุออกมาสักการบูชาภายนอกได้ สถาปัตยกรรมของมหาธาตุรุ่นแรกนี้มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ที่ปรากฏหลักฐานการติดต่อสัมพันธ์ทางศาสนากับลังกามากขึ้นนั้นก็พบการประดิษฐานพระบรมธาตุตามอย่างสถูปในลังกาหรือการประดิษฐานพระบรมธาตุใน “แบบปิด” พัฒนาการสำคัญในลำดับสุดท้ายคือการสร้างห้องกรุตามคติลังกาที่เกิดขึ้นในช่วงคัมภีร์ฝ่ายลังกาเป็นที่แพร่หลายในดินแดนไทยแล้วนั่นคือช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ซึ่งมหาธาตุในรุ่นหลังนี้เองที่ได้กลายเป็นต้นแบบสำคัญให้กับการสร้างมหาธาตุจนถึงปัจจุบัน This dissertation aims at investigating the concept and the practice in establishing Mahadhātu focusing on the beliefs, the iconography and the architecture, particularly in the architectural functions as the sites housing the buddha’s relics and the sites facilitating wor-shipping activity. The function and the facilitation may differentiate this kind of sacred sites from the other general stupas. The research outcomes are expected to clarify the philosophy in the architectural purposes i.e. site selection, urban significance, and space management. All these aspects were not found in the related research works.
The studies have found that the establishment of ancient Mahadhātus was influenced by that of in ancient Ceylon. In 17th-18th century B.E. the Open Type, the type of Mahadhatu allowing the relics to be occasionally brought out to receive homage from the disciples, is observed. The architecture of these early Mahadhātus was influenced by the neighboring architecture, Prāsāda-type buildings. During 18th-19th century B.E. when more evidences on the religious relationship between Siam and Ceylon were found, the establishment of Mahadhātu in stupa, the Close Type, is found. During 20th-21th century B.E. considered the fifinal signicant development, the construction of inner chamber in stupa, contemporary to the fiflourishing of Ceyloneses Buddhist literature in Siam, is found. These Mahadhātus in the fifnal development are believed to be the prototype of later Mahadhātus until present.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
Collections:
Total Download:
400