วัดวรเชตุเทพบำรุง : แบบอย่างงานช่างของอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 22

Other Title:
Wat Vorachet Thepbamrung : a model of atutthaya art in 17th century A.D.
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัดวรเชตุเทพบำรุงเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ข้อมูลเอกสารไม่ระบุถึงการก่อสร้างชัดเจน จึงต้องศึกษาผ่านหลักฐานด้านโบราณคดีและศิลปกรรม ซึ่งก็ได้ผลการศึกษาทั้งที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับวัดแห่งนี้และที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลงานช่างของอยุธยาด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยผลการศึกษาอาจแบ่งออกเป็นเนื้อหาที่สำคัญ คือ
1. วัดวรเชตุเทพบำรุงสร้างขึ้นราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 21 โดย เป็นวัดขนาดเล็กที่มีสิ่งก่อสร้างหลักคือวิหารและเจดีย์ทรงระฆัง ต่อมาในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 22 มีการสร้างปรางค์ประธาน เจดีย์ทรงปราสาทยอดและอุโบสถเพิ่มเติมจนเป็นวัดขนาดใหญ่ซึ่งพบว่ามีอิทธิพลศิลปะล้านนาเป็นอย่างมากในการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น รูปแบบทางศิลปกรรมที่ศึกษาในแต่ละอายุสมัยยังสอดคล้องกับข้อมูลทางโบราณคดีด้วย
2. ข้อมูลจากการวิเคราะห์วัดวรเชตุเทพบำรุงอาจใช้เป็นแนวทางในการคลี่คลายปัญหาของ “วัดวรเชษฐรามมหาวิหาร” ที่ปรากฏชื่อในทางประวัติศาสตร์ โดยอายุสมัยของงานศิลปกรรมอยู่ร่วมกันกับที่เอกสารระบุไว้ในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 และสอดคล้องด้วยตำแหน่งที่ตั้งนอกเมืองตามที่กล่าวว่าเป็นวัดอรัญวาสีของอยุธยา
3. การทบทวนข้อมูลเพื่อศึกษาวัดวรเชตุเทพบำรุง ทำให้พบประเด็นใหม่เกี่ยวกับศิลปะอยุธยาหลายประการ ที่สำคัญคือการวิเคราะห์รูปแบบเพื่อกำหนดอายุสิ่งก่อสร้างบางแห่งในสมัยอยุธยาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาเอาไว้ชัดเจน อนึ่ง การค้นคว้าดังกล่าวทำให้สามารถระบุได้ชัดเจนว่า รูปแบบทางศิลปกรรมส่วนใหญ่ของวัดวรเชตุเทพบำรุงเป็นแบบอย่างของงานช่างอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 22 อันมีความหลากหลายด้านรูปแบบมากกว่าที่เคยเป็นมา Wat Vorachet Thepbamrung is a big ancient monastic monument. Since the construction of the monastery was not mentioned clearly in written records, study must be conducted through art and archaeological evidences. The study yields many results about the monastery itself which in turn could be linked to Ayutthaya art in many ways. The results are presented as follows :
1. Wat Vorachet Thepbumrung was founded in early 16th century as a small monastery, consisting of two main architectures ; a Vihara (assembly hall) and a bell-shape cetiya (stupa). Later in early 17th century, a central Prang, a Prasat-type cetiya, and Uposatha (ordination hall) were added, turning it into a big monastic compound. The later renovation architectures reflect high influence of Lanna art. In addition, the dating of the style of each period is in line with the results from archeological studies.
2. The analysis from the study of Wat Vorachet Thepbumrung could be used to validate Wat Varajestharama. According to historical documents, these temple were mentioned in 17th century. As their locations were both out of town, they were considered Forest Monasteries. Judging from the dating of the art styles and location, Wat Vorachet Thepbumrung is in fact Wat Varajestharama.
3. The study of Wat Vorachet Thepbumrung reveals various new aspects of Ayutthaya art. Importantly, the analysis of the art styles helps pinpointing the dating of some monuments in Ayutthaya period which have not been studied. The study clearly shows that the art of Wat Vorachet Thepbumrung belongs to the 17th century, reflecting more varieties of the art styles of Ayutthaya than ever before.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
Collections:
Total Download:
732