การศึกษาโบราณวัตถุในศิลปะเขมรแบบบายนที่ได้จากการขุดค้นที่เมืองพิมาย

Other Title:
A study of the archaeological evidence of the Khmer Bayon arts style at Phimai
Date:
1988
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาโบราณวัตถุในศิลปะเขมรแบบบายนที่ได้จากการขุดค้นที่เมืองพิมายนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและคติความเชื่อจากโบราณวัตถุในศิลปะเขมรแบบบายนที่รวบรวมได้จากการขุดค้นรวมไปถึงการขุดแต่งและการปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าพบในเมืองพิมาย
เมืองพิมายเป็นเมืองที่มีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกมาช้านานแล้ว โดยเรียกว่าเมือง “วิมาย” “วิยามะปุระ” และ “ภีมปุระ” และเคยเป็นเมืองสำคัญสำหรับการปกครองท้องถิ่นในแผ่นดินสูงตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์และชัยภูมิ เป็นต้น นักโบราณคดีสันนิษฐานกันว่าเมืองพิมายนี้คงสร้างขึ้นในราวตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลด้านศิลปะวัฒนธรรมเขมรจากประเทศกัมพูชาได้แพร่หลายเข้ามาสู่ทางตอนใต้ของภาคอีสาน โบราณสถานที่สำคัญในเมืองพิมายคือปราสาทหินพิมาย ซึ่งสันนิษฐานกันว่าได้ก่อสร้างกันมาหลายสมัย กล่าวคือ ปราสาทหลังกลาง กำแพง และประตูเมือง คงสร้างขึ้นพร้อมกันคือราว พ.ศ. 1625 – 1650 แต่ปรางค์พรหมทัตและปรางค์หินแดงซึ่งอยู่ด้านข้างของปราสาทหลังกลางคงสร้างขึ้นในสมัยหลังต่อมาคือ ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งประเทศกัมพูชา
จากการศึกษาโบราณวัตถุในศิลปะเขมรแบบบายนที่ได้จากการขุดค้นที่เมืองพิมายนี้สามารถแบ่งโบราณวัตถุเหล่านี้ออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อทางศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ โบราณวัตถุส่วนใหญ่ อันได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและรูปนางปรัชญาปารมิตา ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของ “รัตนตรัยมหายาน” ในศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิตันตระ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าศาสนาที่นิยมนับถือกันมากในสมัยบายนคือ ศาสนาพุทธมหายานลัทธิตันตระ ส่วนโบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์พบจำนวนน้อยมาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่ายังคงมีการนับถือศาสนาพราหมณ์กันอยู่ในสมัยนั้น
2. โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม พบจำนวนน้อย ได้แก่ ทับหลัง กระเบื้องเชิงชาย กลีบขนุนปรางค์และประติมากรรมรูปลิง ทับหลังที่พบนี้แสดงให้เห็นถึงการนับถือพุทธศาสนามหายาน ลัทธิตันตระ เช่นเดียวกับโบราณวัตถุอื่น ๆ ที่พบ และแสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย
3. โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับประโยชน์ใช้สอย ที่สำคัญได้แก่ วัชระ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงการนับถือลัทธิตันตระในสมัยบายน ส่วนโบราณวัตถุประเภทดินเผาที่พบส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วยเขมรที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 – 19
จากหลักฐานโบราณวัตถุดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองพิมายเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญติดต่อกันมาหลายสมัย โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งมีหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่ามีการนับถือพุทธศาสนามหายานสกุลวัชรยาน ลัทธิตันตระ อย่างแพร่หลาย สอดคล้องกับข้อความในจารึกต่าง ๆ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และในสมัยนี้เองได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมในบริเวณเมืองพิมายหลายแห่ง รวมทั้งบริเวณประตูเมืองพิมายด้วย ซึ่งได้พบโบราณวัตถุในศิลปะเขมรแบบบายนจำนวนมาก The purpose of this thesis is to study forms and belief relating to Bayon style artifacts discovered from archaeological excavations in habitation sites, ruins and also those with exact provenance, from Phimai.
The name “Phimai” had for a long time appeared in inscriptions as “Vimay”, “Vimayapura”, and “Bhimapura” and was once the centre of the cities in Korat Plateau, e.g. Nakorn Ratchasima, Burirum, Chaiyaphum. The ancient city of Phimai is believed to be first established in the late 16th century B.E., the period of time when arts and culture spread from Cambodia to the Korat Plateau.
The most important edifice within the ancient city of Phimai is Prasat Phimai which is believed to be continuously constructed : the central Prasat together with the city wall and entrances around 1625-1650 B.E., Prang Phromatat and Prang Hindaeng in the later period around 18th century during the reign of King Jayavarman VII of Cambodia.
The artifacts discovered from the excavations within the ancient city of Phimai can be classified into 3 groups :
1. Religious sculptures, Buddhism and Brahmanism, including Buddha image, votive tablets, sculptures of Avalokitesvara and Prajnaparamita all suggesting “Ratanatrai Mahayana” in Tantric Mahayana Buddhism. These evidences indicate that the most believed religion by the people during Bayon period was Tantric Mahayana Buddhism, however, some pieces of brahmanist sculptures are also found.
2. Architectural parts including lintel, butt-end tile, and antifix. Tantric Mahayana Buddhism is also apparent by the depiction on the lintels and, again, Brahmanist scenes are represented as well.
3. Ritual of ulility artifacts including Vajra, a ritual object in Tantrism of Bayon period, and potsherds of 17-19th century Khmer wares.
It is apparent that the ancient city of Phimai had long maintained its significance especially during the reign of King Jayavarman VII. Vajrayana school of Tantric Mahayana Buddhism seems to be extremely flourished then and this is in accoudance with the inscriptions of King Jayavarman VII. During his reign, more buildings were constructed within the city as well as the entrances where artifacts of Bayon period have been discovered.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณดคีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531. Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1988)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
275