การศึกษาด้านภูมิศาสตร์โบราณคดีจากแผนที่โบราณสมัยอยุธยา

Other Title:
A study of archaeological geography from the ancient maps in Ayudhya period
Subject:
Date:
1985
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการวิเคราะห์และแปลความหมายด้านภูมิศาสตร์โบราณคดีจากแผนที่โบราณสมัยอยุธยา โดยมุ่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้จากพิพิธภัณฑ์แผนที่ กรมแผนที่ทหาร รวมแผนที่โบราณสมัยอยุธยาที่ใช้ประกอบการศึกษาทั้งสิ้น 55 ระวาง ส่วนวิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้ง (Location analysis) ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 3 ประการคือ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลก (Earth science) การวิเคราะห์ข้อมูลด้านมนุษย์นิเวศวิทยา (Human ecology) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการพื้นที่ (Space management) สำหรับผลการวิจัยวิเคราะห์โดยการจำแนกประเภทของแผนที่โบราณสมัยอยุธยาออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มแผนที่แสดงภูมิภาคของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนที่ในกลุ่มนี้สามารถวิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและโครงสร้างทางธรณีวิทยาของภูมิภาคต่าง ๆ โดยจำแนกความสำคัญของที่ตั้งสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์โบราณคดีที่มีอิทธิพลต่อลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรสยามได้ดังนี้ ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยพื้นที่ราบขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ตำแหน่งที่ตั้งของอาณาจักรอยู่บริเวณกึ่งกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทะเลและมหาสมุทรประกอบกับมีชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมด้านการเป็นที่จอดเรือสินค้าและเป็นเมืองท่าศูนย์กลางขนถ่ายสินค้า บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรอยู่ในแนวโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่คงสภาพและไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่รุนแรง นอกจากนี้ดินแดนภายในอาณาจักรยังเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญเป็นจำนวนมากซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อความเจริญของอาณาจักร
2. กลุ่มแผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมภายในประเทศและเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศ การศึกษาและวิเคราะห์ด้านภูมิศาสตร์โบราณคดีจากกลุ่มแผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมภายในประเทศนั้น แสดงถึงลักษณะทางกายภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บริเวณที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงปากอ่าวสยามนั้นเป็นพื้นที่ในระยะการพัฒนาของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง โดยมีที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของการคมนาคมทางน้ำ ส่วนกลุ่มแผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศสามารถจำแนกเส้นทางการเดินเรือในสมัยอยุธยาออกเป็น 4 เส้นทางคือ เส้นทางการเดินเรือสายตะวันตก เส้นทางการเดินเรือสายตะวันออก เส้นทางการเดินเรือสายคาบสมุทรมลายูและเส้นทางการเดินเรือสายหมู่เกาะ
3. กลุ่มแผนที่แสดงการวางผังเมืองและการใช้ที่ดินในเขตเมือง การวิเคราะห์ด้านภูมิศาสตร์โบราณคดีจากแผนที่ในกลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ แผนที่แสดงการวางผังเมืองของกรุงศรีอยุธยา แผนที่แสดงการวางผังเมืองของเมืองลพบุรี (ละโว้) และแผนที่แสดงการวางผังป้อมเมืองบางกอก ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมืองต่าง ๆ ดังกล่าวมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานอย่างมีระเบียบแบบแผนประกอบด้วย การจัดระบบการใช้ที่ดินในเขตเมืองเพื่อกำหนดบริเวณที่อยู่อาศัย บริเวณย่านการค้าและบริเวณอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีการจัดระบบถนน ระบบการระบายน้ำ และระบบการป้องกันเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับการวางผังเมืองต่าง ๆ ดังกล่าว This study is aimed to analyze and interpret the archaeological geography from the ancient maps in Ayudhya period collected from the map museum, Royal Thai Survey Department. The maps used in the study consists of totally 55 sheets and the method employed is location analysis with 3 important analyses on data related to earth science, human ecology and space management. The result can be categorized to 3 groups based on type of map as follow :
1. Maps showing South and Southeast Asia region are used for detailed analysis of geography and geological structure of different areas. They are classified by their importance of relative location on archaeological geography which influence the economic structure, sociology and culture of the Siam Kingdom. The findings are the topography comprises large abundant flat plain located in the middle of southeast Asian region proximated to the sea and the ocean. Its costline is appropriate for locating habour and port. The geological structure is stable and has no acute physical alteration, There are lot of important natural resources which are benefically for the kingdom’s civilization.
2. Maps showing domestic and international navigation illustrated physical characteristics of the Chaophraya river from the Ayudhya city to the gulf of Siam involves in the development of the Kingdom’s central flood-plain. The Ayudhya city is served as a centre for navigation. Main route for international navigation in Ayudhya period from these ancient maps are west, east, Malayu penisular and the islands.
3. Maps showing city planning and land utilization can be categorized into 3 groups namely Ayudhya City planning, Lopburi City planning and Bangkok fort planning. Data analysis reveals those cities mentioned have orderly settlement comprising plan of land utilization for outer city area as residential, commercial and industrial area in addition to plan for road, drainage and city security system which conforms to other city plannings.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2528 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1985)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
323