การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียน กรณีศึกษา : กลุ่มอาคารคณะวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต

ชื่อเรื่องอื่น:
Classroom utilization and efficiency analysis : medicine and health science complex, Rangsit University
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2014
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพการใช้อาคารเรียน ในส่วนของ พื้นที่ห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการ และเสนอแนะแนวทางการจัดการพื้นที่ ที่เป็นปัญหาเพื่อใช้เป็น ข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจวางแผนปรับปรุงอาคารเรียนในอนาคตของผู้บริหาร
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่การเรียนการสอน ของอาคาร 4, 4/1, 4/2 อาคาร วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พบว่าห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ยังคงใช้ พื้นที่ในการเรียนการสอนไม่เต็มประสิทธิภาพ ผลโดยรวมยังคงต่ำว่าเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีเพียง 2 ห้อง จาก 46 ห้อง ที่มีประสิทธิภาพการใช้พื้นสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐานคือ ห้องปฏิบัติการ 4/2-206 และ 4/2-305 มีประสิทธิภาพวัดเป็นร้อยละ 105.37 ทั้งสอง ห้อง ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 64 และเมื่อพิจารณาอัตราการใช้ห้องเรียนตามเวลา มี 3 ห้อง มีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคือ ห้องบรรยายที่ 4/1-503 มีอัตราการใช้ห้องตามเวลาคิดเป็นร้อย ละ 83.30, ห้องบรรยาย4/2-803 ร้อยละ 118.75 และห้องปฏิบัติการ 4/2-504 อัตราการใช้ห้องตาม เวลาสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานโดย มีค่าคิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ร้อยละ 80 ส่วน อัตราการใช้ห้องเรียนตามความจุ โดยภาพรวมมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ได้แก่ 1.ใช้นโยบายการ จัดการด้านการเรียนการสอน 2. ใช้นโยบายการจัดการด้านกายภาพ 3. ใช้นโยบายการจัดการด้าน ตารางเรียนตารางสอน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องพื้นที่จำกัดและไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา This research aimed to study the utilization efficiency of educational buildings particularly lecture and basic science laboratory classrooms.
The results will be used for space management recommendations, space planning and a decision making at the administrative level. The study of the science building 4, 4/1 and 4/2, Rangsit University founded both room types were still under-utilized and had a relatively low efficiency according to the Office of the Higher Education Commission Standards. Only two out of forty-six laboratory classrooms had a higher utilization rate. Those were laboratory classroom 4/2-206 and room 4/2-305 (both efficiency rate = 105.37%, standard efficiency rate = 64%). When considering the lecture rooms in those three buildings, only three rooms had a higher utilization rate per class schedule. Those rooms were: lecture room 4/1-503 (utilization rate per class schedule = 83.30%, standard utilization rate= 80%); lecture room 4/2-803 (utilization rate per scheduled =118.75%); and laboratory classroom 4/2-504 (utilization rate per scheduled =100%). In terms of utilization rate per classroom capacity, none was above the standard rate which means all of them were under-utilized.
There were three strategies to improve the situation; 1) change the teaching-learning methods; 2) reconsider the classroom management policy; 3) revise classroom scheduling. These strategies will be used to resolve the shortage of educational space and improve students’ learning capacity.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
223