การเสนอแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อลดช่องโอกาสการเกิดอาชญากรรมในย่านที่พักอาศัยของชุมชนในเขตเมือง (กรุงเทพมหานคร)

Other Title:
The environmental design to decrease the opportunity of crime in residential area in urban community of Bangkok
Author:
Subject:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสภาพแวดล้อมย่านที่พักอาศัยของชุมชนในเขตเมือง (กรุงเทพมหานคร) ที่ได้รับผลจากอาชญากรรมต่อทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกาย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสเกิดอาชญากรรม รวมทั้งนำเสนอรูปแบบทั่วไปของย่านที่พักอาศัยในชุมชนเมืองที่ลดช่องโอกาสการเกิดอาชญากรรมเป็นแบบเชิงพรรณนา โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 250 หน่วยครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และคำถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการเกิดอาชญากรรม โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงวิเคราะห์ใช้ค่าไควสแควร์ (Chi-square test)
ผลการศึกษา พบว่า มีอัตราการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 96. 89 (250/258 ชุด) การประสบอาชญากรรม พบว่า เคยประสบอาชญากรรม จำนวนร้อยละ 32. 8 หลังจากวิเคราะห์ความสัมพันธ์เบื้องต้น พบว่า ปัจจัยทางด้านคุณลักษณะส่วนบุคกล ได้แก่ ช่วงอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา บริเวณที่พักอาศัย ประเภทที่พักอาศัย และการรู้จักเพื่อนบ้านในชุมชน รวมทั้งปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในชุมชนประกอบด้วย การเข้าออกที่พักอาศัยของบุคคลนอก การดูแลบำรุงรักษาพื้นผิวถนน ลักษณะทางเข้าออกของถนน การดูแลจัดการบริเวณทางเดินเท้า การดูแลรักษาสภาพถนนระบบแสงไฟส่องสว่างบริเวณถนน การซ่อมบำรุงระบบไฟส่องสว่าง พื้นที่เสี่ยงภัยกรณีมุมอับลับตาคน พื้นที่เสี่ยงภัยกรณีเส้นทางเปลี่ยวในซอย พื้นที่เสี่ยงภัยกรณีมุมมืดไม่มีแสงส่องสว่าง และระบบแสงไฟที่ช่องเสว่าง มีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดอาชญากรรมต่อทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของชุมชนย่านที่พักอาศัยในเขตเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสมิติที่ระดับ 0. 05
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสภาพแวดล้อมที่เปิดช่องโอกาสเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ศึกษาทำให้ได้รับปัจจัยที่สามารถออกแบบสภาพแวดล้อมของชุมชนย่านที่พักอาศัย กรณีศึกษา ซอยรัชดา 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน โดยการเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชน ได้แก่ การให้แสงสว่าง มุมมองและการมองเห็น เส้นทางสัญจรที่เพียงพอ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดช่องโอกาสเกิดอาชญากรรมในย่านที่พักอาศัยของชุมชนในเขตเมือง (กรุงเทพมหานคร) อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด The objectives of this research are to explore the environmental conditions of residential area in urban community in Bangkok, which are affected by crimes against property, life and person; to investigate factors related to probability of crime commission; and to propose the physical environment of residential area in urban community which can decrease the opportunity of crime. The results of the study presents in descriptive pattern. Information has been collected from 250 household units by using multi-stage sampling method. The questionnaire used in this study gathered general information, questions about factors that affect the opportunity of crime commission. An analysis has been completed by statistic analyzing program to obtain various descriptive statistics such as frequencies, percentage, mean, median, standard division, minimum, maximum, and Chi-squared statistics test.
The result from 96.89% (250 of 258) of respondents (who replied the questionnaires) showed that 32.8% have experienced of crime. It was found from the basic relation analysis that some certain characteristics such as age groups, marital status, education level, neighborhood area, neighborhood relationship and types of residence were related to the probability of crime in urban community with the significant statistic level at 0.05 Additionally, the community environment such as non-residential access control, street surface maintenance, street accessing, side walk management, road maintenance, street lighting, street lighting maintenance, appropriate type of lighting, poor visibility and sightline area and the dark and desolate alley way were also considered as crime-related factors.
The result from the site analysis of the case study of Soi Ratchada 36 (Soi-Sauer- Yai-Utit), showed crime-inducing factors which can be reduced by using the proper environmental design. The result from case scenario can be applied to other urban communities that share similar characteristics, such as increasing the visibility and appropriate lighting, circulation managements, which would significantly increase the crime prevention opportunity in the urban Bangkok community.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Collections:
Total Download:
284
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
Community Welfare Management with Community Enterprises : A case study of the Baan Mai Fund Community Shop Group, Ban Mai Samanachan Community 5, Ban Mai Sub-district, Pak Kred District, Nonthaburi Province
Collection: วิทยานิพนธ์Type: ThesisPatchanandana RAMANANDANA; พัชนันทน์ รามนันทน์; PITAK SIRIWONG; พิทักษ์ ศิริวงศ์; Silpakorn University. Management Sciences (Silpakorn University, 1/7/2022)This thesis was purposed 1) Study the situation of Community welfare management with community enterprises : Case study of community shop of Ban Mai Fund, Ban Mai Community 5, Ban Mai Subdistrict, Pak Kret District Nonthaburi ... -
กระบวนการและเงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมะขามทอง ชุมชนก้าวหน้าพัฒนา เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Collection: Theses (Master's degree) - Development Education / วิทยานิพนธ์ - พัฒนศึกษาType: Thesisพงษ์ศักดิ์ เห็นตระกูลดี; Pongsak Hentrakooldee (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013) -
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด
Collection: Theses (Ph.D) - Development Education / ดุษฎีนิพนธ์ - พัฒนศึกษาType: Thesisทิพย์สุดา พุฒจร; Tipsuda Putjorn (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013)