การศึกษาภูมิปัญญาการใช้ควายในการทำนา เพื่อการออกแบบตกแต่งภายในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศเพื่อการบริการชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี

Other Title:
The study of wisdom thai farming by buffalo for interior design of ecosystem education center for farmer service, Suphanburi
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ในการศึกษาภูมิปัญญาการใช้ควายในการทำนา เพื่อการออกแบบตกแต่งภายในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศเพื่อบริการชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้วิจัยเลือกที่จะมุ่งเน้นประเด็นไปที่การศึกษาบทบาทและคุณค่าของควายในระบบกสิกรรมหรือการทำนา การใช้แรงงานควายในการทำนานับว่าเป็นวิถีภูมิปัญญาพื้นบ้านส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการทำนาแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นพระบรมราโชวาทที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชดำรัสไว้ ให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวนากลับมาใช้แรงงานควายในการทำนา เพื่อเป็นการลดต้นทุน ด้วยทรงเป็นห่วงสถานการณ์ของชาวนาที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน ทั้งปัญหาหนี้สิน ปัญหาความยากจนและปัญหาสุขภาพ ฯลฯ
จากการศึกษาพบว่า ชาวนาใช้ประโยชน์จากควายในการไถไร่นา คราดนา นวดข้าว ลากจูง และใช้มูลเป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เกิดการสมดุลของธรรมชาติ เป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมอีกทางหนึ่ง การนำผลพลอยได้จากการปลูกพืชมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงควาย ทำให้ควายเป็นผลผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ขบวนการทั้งหมดเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการทำนา ควายจึงมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความยากจน คนไทยคุ้นเคยและผูกพันกับควายในวิถีชีวิตชนบทตั้งแต่อดีต เป็นความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นห่วงโซ่อาหาร พืช สัตว์ จุลินทรีย์ จากความหมายของความสัมพันธ์นี้นำไปสู่คำสำคัญหรือ Keyword ว่า “เกื้อกูล” ซึ่งมีความหมายหรือนัยเดียวกันกับคำว่าระบบนิเวศ
ผลการศึกษาโครงการนี้ ผู้วิจัยได้นำความหมายคำว่าเกื้อกูลมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบโครงการ “ศูนย์ศึกษาระบบนิเวศเพื่อบริการชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี” ซึ่งตรงตามเจตนาและความตั้งใจของผู้วิจัยและวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะช่วยเหลือชาวนาหรือเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของคำว่า เกื้อกูล เป็นอย่างดีให้เกิดความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาการใช้ควายในการทำนา ควรคู่แก่การอนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป The study is concerned with Thai farming wisdom by buffalo for interior design of Ecosystem Education Center for Farmer Service, Suphanburi Province. The researcher chooses to focus on studying the role and value of buffalo in agricultural system or farming. The use of buffalo labor for farming is considered a part of local wisdom in traditional farming culture. According to the royal guidance addressed by Her Majesty Queen Sirikit, the Govermment has been requested to help support and encourage famers to return to using the buffalo labor for farming to reduce cost. The reason is that she has been concerned for the situation currently faced by farmers, including the debt, poverty and health problems etc.
The study has found that farmers utilize the buffalo for farm plowing, harrowing, threshing, towing and manure is used as fertilizer, thus resulting in soil fertility, balance of nature. It is another way of environmental restoration. The utilization of by-products from crop cultivation for buffalo rearing causes the buffalo to be a product with low cost. The entire process is a way of reducing the farming expenses. Therefore, the buffalo has a role in tacking the poverty problem. Thai people have been familiar and bound up with the buffalo in rural lifestyle from the past. It is the relationship of people with the nature and environment which requires mutual dependence as food chain, plants, animals, microorganisms. This definition of relationship leads to a Keyword, i.e. “assistance” which has the same meaning or significance as the word “ecosystem”.
Concerning the study results of this project, the researcher takes the meaning of the word “assistance” for further development as the concept in the design of the project “Ecosystem Education Center for Farmer Service, Suphanburi Province” which meets the intent and determination of the researcher as well as the purpose of the project to assist farmers or cultivators. This is consistent with the definition of the word “assistance” well. The related objectives are to cause the novelty, interest and to demonstrate the value as well as importance of Thai farming wisdom by buffalo which deserves conservation and continuation so as to remain alongside Thai society further.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการออกแบบภายใน
Total Download:
956