การศึกษาคัมภีร์ใบลานสู่การออกแบบสถานลานธรรม

Other Title:
The study of palm-leaf scripture for the Dhamma space
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาคัมภีร์ใบลานได้มุ่งเน้นการศึกษาถึงลักษณะและนัยสำคัญ ด้านรูปธรรม ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ ขั้นตอนการทำ รูปแบบศิลปะ และด้านนามธรรมที่แฝงอยู่อันเป็นสัญลักษณ์ที่เตือนให้เกิดสติ เพื่อระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสามารถนำหลักคำสอนเรื่องสติมาใช้ในการดำเนินชีวิต เพราะการเจริญสติ ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความเข้าใจ สัจธรรมความจริงของสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และเกิดศรัทธา ความเชื่อ ว่าวิถีทางแห่งพุทธธรรมคือวิถีทางแห่งชีวิต สำหรับวัยทำงานที่ใช้ชีวิตในเมืองซึ่งเผชิญปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต การมีสติระลึกตัวอยู่เสมอช่วยให้การดำเนินชีวิตง่ายและมีความสุขมากขึ้นเมื่อนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติตนในขณะทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งผลให้พบทางแห่งความสุขที่แท้จริง เข้าใจและพร้อมรับมือกับปัญหาด้วยสติปัญญาทางธรรม
ในการเก็บข้อมูลของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามวัยทำงานย่านธุรกิจในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน พร้อมทั้งวิธีการส้มภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมการเจริญสติ จำนวน 5 คนและการสังเกตด้วยตัวเอง จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ(Qualitative Data Analysis) โดยวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลกันของเรื่องต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้ความสัมพันธ์ตามหลักตรรกะและใช้การบรรยายเชิงพรรณนา พร้อมทั้งดูความต้องการรูปแบบและกิจกรรมจากผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม เพื่อนำไปใช้ในงานออกแบบ
ผลของการสังเคราะห์ข้อมูลการศึกษาคัมภีร์ใบลาน คือ “ลำดับเวียนเปลี่ยนผัน สัจธรรมยากเลือน” และพัฒนาสู่การออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสถานลานธรรม โดยแสดงถึงสัจธรรมลำดับของการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นความจริงยากลบเลือนของสิ่งทั้งปวง แฝงในรูปทรงอาคาร วัสดุ ที่ว่าง แสงและเงาจากธรรมชาติที่เกิดจากการออกแบบพื้นที่ และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในโครงการ ที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้งานเกิดการระลึกรู้ตัว เข้าใจสัจธรรม พบความสุขที่แท้จริงและพร้อมดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีสติ The study of palm-leaf scripture is designed for learning characteristics and important natural forms such as palm-leaf scripture physical, making process, art style of scripture and hiding meaning about consciousness. These paraphrase an important content for the way of life. From this learning, Buddha’s teaching reminds the truth that people should be aware of their life. At the present time, urban life is considered as a busy life. Applying awareness and consciousness will lead to the real happiness of everyday life.
This study uses data from survey questionnaires, which includes 400 working-age persons. Interviewing and observing of 5 meditation specialists is also adopted. Furthermore, qualitative data
analysis and content analysis are used to delineate the outcome.
This consequence will be use as a concept design. In conclusion, the result from studying is “the sequence of unchanging truth” and is developed to the main design of Dhamma space. All details such as planning, material, space and light are intended to show the truth of study.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการออกแบบภายใน
Total Download:
173