การศึกษาฟ้อนเชิงสู่การออกแบบศูนย์สืบสานนาฏล้านนา จ.เชียงใหม่

Other Title:
The study of Cheng Lanna dance for interior design Lanna Performance Art Center
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาฟ้อนเชิงครั้งนี้ มีแรงบันดาลใจจาก ฟ้อนเชิงซึ่งเป็นฟ้อนต้นแบบของภาคเหนือและเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งผู้วิจัยได้คลุกคลีตั้งแต่เด็ก จากการศึกษาได้มุ่งเน้นถึงความหมายและนัยสำคัญพร้อมทั้งศึกษาด้านรูปธรรม ได้แก่ แม่ลาย ผังฟ้อน ลีลาท่าทาง วัสดุอุปกรณ์ประกอบการฟ้อน รวมถึงการศึกษาด้านนามธรรมที่แฝงด้วยคติความเชื่อและนัยยะแฝงของล้านนาที่มีการถ่ายทอดอย่างมีแบบแผนรุ่นต่อรุ่น ซึ่งฟ้อนเชิงนี้เป็นต้นแบบของฟ้อนล้านนาที่มีเอกลักษณ์ทที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานนี้ เปรียบดังเอกลักษณ์ต้นแบบที่ควรสืบสาน ที่นำมาสู่แนวคิดในการออกแบบศูนย์สืบสานนาฏล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากศึกษาประวัติความเป็นมา นัยยะแฝง รูปแบบการฟ้อน เครื่องแต่งกายของฟ้อนเชิง และรวมถึงศึกษาบริบทสภาพแวดล้อม สถานที่ตั้งโครงการ การศึกษา กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้สถานที่
ผลจากการศึกษาข้อมูล สู่การออกแบบศูนย์สืบสานนาฏล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้นำแนวคิดมาจากท่วงท่า ลีลา บริบทการฟ้อน พบว่า คำสำคัญที่นำไปใช้ในการออกแบบได้นั่นคือ วาดวน หมุนเวียน สืบสาน แสดงเชิง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ถ่ายทอดโดยพ่อครูแม่ครู สู่งานออกแบบพื้นที่ภายในให้มีความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมของผู้ใช้โครงการ ที่นำไปสู่ ความรู้ ความเข้าใจดั้งเดิมของการฟ้อน อีกทั้งเพลิดเพลินในการเรียนและการชมการแสดงไปตามบริบทในการออกแบบ อีกทั้งยังสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์เป็นแนวความคิดในการต่อยอดจัดทำโครงการที่มีรูปแบบหรือแนวคิดของโครงการประเภทเดียวกัน The study of Cheng dance was inspired by Cheng dance which is the template of Northern part of Thailand and is the signature of their local. The researchers are very familiar with Cheng dance since she was young through the study of meanings and importance as well as their concrete such as motif, moves, styles, materials that are used, the names which are according to the believes and the connotations that have been passed over generations which is the main characteristic of Cheng dance and is used to develop Lanna Performance Art Center.
The research from the study of the history, connotations, ways of dancing, ways of dressing as well as the environment and the places, lead to the ideas and environments of the project.
From the study of the design of Lanna Performance Art Center, with the help of steps of dancing, the designs are circular and repeated which are based on the characteristic of teachers. The interior designs are constructed to make relationship of the activities of those to use the place to lead to knowledge and the understanding of the dance. Moreover, it helps to make the study and show more enjoying dur to the design. The study of the dance can also be used to design the place with similar project.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการออกแบบภายใน
Total Download:
1019