การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเรื่องสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ

Other Title:
The development of problem solving thinking abilities on the situation of natural resources and environment in america of mathayomsuksa 3 students through instructional system design
Author:
Date:
2015
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการวิจัย แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลังเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 จำนวน 49 คน ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนวัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กรอบกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ 2) แผนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกา 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)
ผลวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
The purposes of this experimental research with one group pre-test post-test design were to: 1) study the problem solving thinking abilities on the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa 3 students through instructional system design 2) compare learning achievements with the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa 3 students through instructional system design 3) study the opinion of Mathayomsuksa 3 students towards learning through instructional system design. The sample of this research consisted of 49 students in Mathayomsuksa 3/8, Suthiwararam School, Bangkok, the second semester, academic year 2015, using simple random sampling technique with a classroom unit.
The instruments employed to collect data were: 1) process framework of instructional system design. 2) lesson plans through instructional system design. 3) a learning achievements test with the situation of natural resources and environment in America. 4) a problem solving thinking abilities test and 5) a questionnaire on the opinion of Mathayomsuksa 3 students towards learning through instructional system design. The collected date was analyzed for the percentage (%), mean ( ), standard deviation (S.D.) and t-test for dependent.
The research results revealed that:
1. The problem solving thinking abilities with the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa 3 students through instructional system design were at the high.
2. The learning achievements of students on the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa 3 students through instructional system design were higher than before at the level of .05 significance.
3. The opinion of Mathayomsuksa 3 students towards learning through instructional system design were at the high level of agreement.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
Collections:
Total Download:
94